คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น

Jul 07 ,2020 Writen By: Store Owner

ฮอร์โมนทดแทนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจริงหรือไม่

ผู้หญิงในวัยรุ่นจะมีไข่ที่สมบูรณ์ประมาณ300000ฟอง แต่จำนวนไข่และคุณภาพจะลดลงเรื่อยๆเหลือ36000ฟองตอนอายุ35ปีและจะลดลงเรื่อยๆ พอเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงเฉลี่ยอายุ51ปี ซึ่งมีความแตกต่างของอายุสำหรับวัยทอง โดยเริ่มตั้งแต่อายุ40ปี ถ้าประจำเดือนขาดติดต่อกันเกิน12เดือน ในรายที่อายุน้อยกว่า45ปีจะมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าอายุน้อยกว่า40จะต้องตรวจหาความผิดปกติของรังไข่หรือส่วนอื่นๆ ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนถึง85%จะมีอาการข้างเคียงหลักๆได้แก่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ ช่องคลอดแห้ง ท่อปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะเล็ด ปกติแพทย์จะวินิจฉัยภาวะวัยทองโดยตรวจระดับฮอร์โมนestradiol และ FSHเป็นหลัก (ค่าเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับผู้หญิงที่ต้องการวางแผนตั้งครรภ์ การเก็บไข่ รวมทั้งผู้หญิงทรานส์ ) เมื่อไรที่ผู้หญิงควรจะได้ฮอร์โมนทดแทน อดีตพบว่าการได้รับฮอร์โมนมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง แต่ปัจจุบันได้มีการวิจัยในผู้หญิงกว่า10000คนในประเทศสหรัฐอเมริกา(WHI) พบว่ามีประโยชน์กว่าถ้าเลือกให้ในคนที่เหมาะสมใน3กรณี 1 รักษาอาการร้อนวูบวาบปานกลางถึงมาก 2 รักษาอาการช่องคลอดแห้งปานกลางถึงมาก 3 ป้องกันความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง รายละเอียดจะนำมาเล่าต่อค่ะ #วัยทอง #ฮอร์โมนทดแทน #มะเร็ง #ช่องคลอดแห้ง #หมดประจำเดือน
Last Update 2020-10-27 07:36:33
Read 262 Times
Published in
expand_less