คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น

Oct 27 ,2020 Writen By: Store Owner

ฮอร์โมนทดแทนมีกี่แบบ

ตลอดตั้งแต่เป็นวัยรุ่นจนวัยใกล้หมดประจำเดือน ตั้งแต่อดีดที่ผ่านมามีการใช้ฮอร์โมนทดแทน แบบธรรมชาติและแบบสังเคราะห์ได้แก่

ปกติในผู้หญิงจะมีestradiolเป็นหลัก แต่จะแบ่งเป็น estrone (E1), estradiol (E2), estriol (E3), and estetrol (E4) ซึ่งตัวที่มีความสำคัญที่สุดคือ estradiol (E2)

ตลอดตั้งแต่เป็นวัยรุ่นจนวัยใกล้หมดประจำเดือน ตั้งแต่อดีดที่ผ่านมามีการใช้ฮอร์โมนทดแทน แบบธรรมชาติและแบบสังเคราะห์ได้แก่

1 Natural Sourceแบบธรรมชาติ ซึ่งปกติเราจะอยากให้คนไข้ใช้แบบธรรมชาติมากกว่าอยู่แล้ว Conjugated equine estrogens (premarin) ผลิตจากปัสสาวะม้า เป็นตัวที่โด่งดังมากในอดีตจากสหรัฐอเมริกา ข้อเสียคือส่วนประกอบส่วนใหญ่50%เป็นE1ซึ่งเป็นตัวแอกทีฟน้อย Natural / Synthetic แบบกึ่งธรรมชาติและกึ่งสังเคราะห์ Estradiol valerate (progynova) จากประเทศอังกฤษ , 17B-estradiol , Estrone

2 Synthetic แบบสังเคราะห์Ethinyl estradiol , SERM (Selective estrogen receptor modulator) , STEAR (Selective tissue estrogenic activity regulator)

ข้อเสียที่อันตรายมากๆของฮอร์โมนทดแทนรุ่นเก่า เกิดจากเป็นรูปแบบการรับประทาน ดังนั้นจึงมีผลต่อหลายอวัยวะที่สำคัญ

1 ฮอร์โมนพวกนี้จะต้องไปผ่านตับเพื่อย่อยสลาย (hepatic effect) ทำให้เป็นพิษต่อตับ (liver toxic) เกิดความดันของเส้นเลือดในตับสูงขึ้น (portal hypertension)

2 เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเส้นเลือดอุดตันผิดปกติ (abnormal blood clotting/coagulation)ไปกระตุ้นการทำงานของตัวที่ควบคุมความดันและการแลกเปลี่ยนสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย (RAAS) เพิ่มโอกาสเป็นควมดันโลหิตสูง เพิ่มไขมันในเลือดสูง แคลเซียมไปเกาะตามหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดที่สำคัญอื่นๆ

3 เพิ่มโปรตีนที่ไปจับกับฮอร์โมนเพศ SHBG ทำให้ฮอร์โมนที่ใช้งานได้จริงๆน้อยลง และยังลดความต้องการทางเพศด้วย จากผลข้างเคียงอันตรายต่างๆที่เกิดขึ้นจึงนำมาวิจัยและพัฒนาฮอร์โมนรูปแบบใหม่คือฮอร์โมนแบบทาซึงปลอดภัยกว่ามาก ผลข้างเคียงน้อย ได้ประโยชน์ในการรักษาและป้องกันมากกว่า

#วัยทอง #ฮอร์โมนทดแทน #มะเร็ง #ช่องคลอดแห้ง #หมดประจำเดือน #กระชับช่องคลอด #ตัดแต่งแคม #labiaplasty #vaginarejuvenation #sextherapy #hormonereplacement #HRT #bioidenticalhormone #phenomedclinic #menhealth #womenhealth

Last Update 2020-10-27 07:59:13
Read 414 Times
Published in
expand_less