คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น

Jan 31 ,2020 Writen By: Store Owner

ภาวะการหายใจอุดกั้นหรือนอนกรน อาจตายได้หากไม่รักษา

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้นเป็นความผิดปกติทางการนอนหลับที่พบได้บ่อย ซึ่งมาพร้อมกับความเสี่ยงโรคร้ายแรงหลายชนิด

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้นเป็นความผิดปกติทางการนอนหลับที่พบได้บ่อย ซึ่งมาพร้อมกับความเสี่ยงโรคร้ายแรงหลายชนิด

 

สาเหตุเกิดจากอะไร

ตอนนอนหลับ เมื่อกล้ามเนื้อทางเดินหายใจจะคลายตัวและแคบหรือปิดลง เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนนานกว่า10 วินาทีขึ้นไป ทำให้เกิดการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์และลดระดับออกซิเจนในเลือด สมองจะถูกกระตุ้นให้ตื่นมาหายใจเป็นช่วงสั้น ๆ จนคุณจำไม่ได้ อาจจะถื่ง 5-30 ครั้งหรือมากกว่าในแต่ละชั่วโมงตลอดทั้งคืน ส่งผลให้ไม่สามารถนอนหลับลึกในระดับที่ต้องการและอาจรู้สึกง่วงในช่วงตื่น

สิ่งอื่น ๆ นอกจากนี้ที่อาจปิดกั้นคอของคุณ และทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น เช่น โรคอ้วน ต่อมทอนซิลบวม ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หรือหัวใจล้มเหลว

สำรวจดูว่าคุณเข้าข่ายมีอาการพวกนี้หรือไม่

ง่วงนอนตอนกลางวันหรือรู้สึกเหนื่อยล้า

เสียงกรนดัง

กระสับกระส่ายระหว่างการนอนหลับ

รู้สึกว่ากำลังหอบหรือหายใจไม่ออก

สังเกตจากการหยุดหายใจหรือสำลักขณะหลับ

การตื่นอย่างกระทันหันพร้อมด้วยการอ้าปากค้างหรือสำลัก

มีอาการปากแห้งหรือเจ็บคอ

ปวดหัวตอนเช้า

มีปัญหาในการตื่นขึ้นมาในตอนเช้า

ตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก

ไม่ค่อยมีสมาธิในช่วงกลางวัน

หลงลืม อารมณ์แปรปรวน เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือหงุดหงิด

ความดันโลหิตสูง

โรคกรดไหลย้อน (GERD)

เหงื่อออกตอนกลางคืน

มีปัญหาทางเพศ ความสนใจลดลง

 

ในเด็กก็พบปัญหาการนอนกรนได้ซึ่งอาจมีอาการจากภาวะการหายใจอุดกั้นได้ดังนี้

ปัสสาวะรดที่นอน

สำลักหรือน้ำลายไหล

เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน

มีปัญหาที่โรงเรียน เกี่ยวกับการเรียนรู้และพฤติกรรม

ง่วงนอนตอนกลางวัน (เด็กอาจถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจ)

นอนกัดฟัน มีตำแหน่งการนอนที่ผิดปกติเช่นการนอนหงายมือและหัวเข่าหรืองอคอไปด้านหลัง

คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้นอาจไม่ทราบว่ามีภาวะเหล่านี้ และมักคิดว่าตัวเองนอนหลับได้ดีทั้งคืนซึ่งอาจต้องอาศัยคนที่บ้านช่วยสังเกต

Cr.Dr.Pat American Board AntiAging Medicine, American Aesthetic Medicine, Sleep Medicine,CBT,Sexual Medicine, Clinical Sexology, Nutrition #sleeptest #osa #cpap #insomnia #นอนไม่หลับ #ตรวจโรคจากการหลับ

Last Update 2020-01-30 21:24:30
Read 286 Times
Published in
expand_less